วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สัญลักษณ์ตราแผ่นดินของ ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

ความหมาย เป็นรูปฉลองพระองค์ครุยคลุมพานแว่นฟ้า
อัญเชิญพระแสงขรรค์และเครื่องหมายอุณาโลมภายใต้พระมหามงกุฎเปล่งรัศมี
มีลายช่อต่อออกมาจากกรรเจียกจรทั้งสองข้าง รูปดังกล่าวอยู่เหนือรูปดาราของ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งกัมพูชา (Royal Order of Cambodia) และมีรูปลายก้านขดอยู่ใต้รูปฉลองพระองค์ครุยอีกชั้นหนึ่ง ถัดมาทางด้านข้างทั้ง 2 ด้านขนาบด้วยรูปฉัตร 5 ชั้น
โดยคชสีห์ทางด้านซ้าย และด้านขวา เบื้องล่างสุดของรูปทั้งหมดเป็นแพรแถบแสดงข้อความว่า "พระเจ้ากรุงกัมพูชา" ด้วยอักษรเขมรแบบอักษรมูล
รัศมีที่เปล่งออกมาจากพระมหามงกุฎ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองแห่งอารยธรรมเขมร
ฉัตร 5 ชั้นทั้งสองคัน หมายถึง พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินี
พระแสงขรรค์ หมายถึง พระราชอำนาจและความยุติธรรม
ราชสิห์และคชสีห์ หมายถึง ปวงชนชาวกัมพูชาผู้ค้ำจุนราชบัลลังก์

  
สัญลักษณ์ตราแผ่นดินของ สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
ความหมาย เป็นเครื่องหมายราชการของรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ใช้ประทับในเอกสารของทางราชการทุกชนิด รวมถึงการตีพิมพ์ในเอกสารสำหรับเผยแพร่
แบบตราดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้เป็นลักษณะตามที่ปรากฏในหมวดที่ 8 ของรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ซึ่งได้รับการรับรองด้วยการลงประชามติในปี พ.ศ. 2551
ลักษณะของดวงตราประกอบด้วยรูปสิงห์แบบศิลปะพม่า จำนวน 2 ตน อยู่ในท่านั่งรักษาการณ์ หันหลังให้ ซึ่งกันและกัน ที่กลางตรานั้นมีภาพของแผนที่ประเทศพม่ารองรับด้วยช่อใบมะกอกคู่ ล้อมรอบด้วยลวดลายบุปผชาติตามแบบศิลปะพม่า ที่บนสุดของดวงตราเป็นรูปดาวห้าแฉกดวงหนึ่ง รูปรองรับด้วยม้วนแพรแถบจารึกนามเต็มของประเทศ
ด้วยใจความ "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า" นับตั้งแต่สมัยราชาธิปไตยเป็นต้นมา พม่าได้ใช้รูปนกยูงรำแพนเป็นเครื่องหมายประจำแผ่นดินมาโดยตลอด ดังปรากฏในเงินเหรียญรูปีของพม่าและ
ธงของพม่าในสมัยต่างๆ ทั้งในสมัยเป็นเอกราชในยุคราชวงศ์อลองพญา สมัยภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร และธงของรัฐบาลพม่าภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่น
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2491 ประเทศพม่าได้ใช้รูปตราแผ่นดินอันมีลักษณะคล้ายกับดวงตราที่ปรากฏในปัจจุบัน
สำหรับรายละเอียดที่แตกต่างกันประกอบด้วย แพรแถบชื่อประเทศจารึกข้อความว่า "สหภาพพม่า" ตำแหน่งบนสุดของดวงตรานั้นมีรูปสิงห์นั่งหน้าตรงอยู่แทนที่รูปดาว
ภาพแผนที่ประเทศพม่ากลางดวงตรานั้นบรรจุอยู่ในวงกลมอีกชั้นหนึ่ง ที่ขอบวงกลมนั้นจารึกคาถาพุทธภาษิตเป็นภาษาบาลี ซึ่งยกมาจากธัมมปทัฏฐกถา
พุทธวัคควัณณนา คาถาที่ 194 ความว่า "สมคฺคานํ ตโป สุโข" อันหมายถึง "ความเพียรของชนผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นเหตุนำสุขมา"
      ในสมัยการปกครองแบบสังคมนิยมของนายพลเน วิน รัฐธรรมนูญของพม่าฉบับ ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) ได้บัญญัติภาพตราแผ่นดินใหม่ให้มีลักษณะในเชิงสังคมนิยมมากขึ้น
โดยมีการแก้รูปแผนที่ประเทศพม่าให้ซ้อนทับบนรูปล้อเฟืองล้อมรอบด้วยช่อรวงข้าวคู่ และเปลี่ยนรูปสิงห์นั่งที่อยู่บนสุดให้เป็นรูปดาวห้าแฉก
ส่วนนามประเทศในแพรแถบล่างสุดได้เปลี่ยนเป็นข้อความ "สาธารณรัฐสังคมนิยมพม่า"ข้อความดังกล่าวนี้เมื่อคณะทหารได้ทำรัฐประหารและตั้งสภาฟื้นฟูกฎหมาย
และระเบียบแห่งรัฐขึ้นในปี พ.ศ. 2531 ข้อความ ซึ่งหมายถึง "สาธารณรัฐสังคมนิยม" จึงได้ถูกลบออกไป

    

  
สัญลักษณ์ตราแผ่นดินของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ความหมาย แบบปัจจุบันเป็นตราของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 หลังจากการใช้นโยบายจินตนาการใหม่ มีลักษณะตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมวดที่ 10 มาตราที่ 90 ไว้ว่า:- "เครื่องหมายชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นรูปวงกลม ด้านล่างมีรูปครึ่งกงจักรเป็นฟันเฟืองและโบว์อักษร "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" สองข้างล้อมด้วยรวงข้าวสุกเป็นรูปวงพระจันทร์และโบว์สีแดงเขียนอักษร "สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร
ระหว่างกลางของสองปลายรวงข้าวมีรูปพระธาตุหลวง อยู่กลางรูปวงกลมมีหนทาง ทุ่งนา ป่าไม้ และเขื่อนไฟฟ้าน้ำตก"
    

  
สัญลักษณ์ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam )ความหมาย มีรูปแบบเช่นเดียวกับประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ มีรูปดาวสีเหลืองบนพื้นสีแดง มีรูปเฟืองและรวงข้าว หมายถึง ความร่วมมือกันระหว่างแรงงานภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
ตามแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ มีลักษณะคล้ายตราแผ่นดินของเยอรมันตะวันออก และตราแผ่นดินของจีน ซึ่งถูกนำมาสร้างเป็นตราแผ่นดินของเวียดนามเหนือเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498
เมื่อรวมชาติกับเวียดนามใต้แล้ว จึงนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินเวียดนามเมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519
    

  
สัญลักษณ์ตราแผ่นดินของเนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam)
ความหมาย ใช้เครื่องหมายอย่างเดียวกับที่ปรากฏในธงชาติบรูไน เริ่มใช้เมื่อพ.ศ. 2475 ประกอบด้วยสัญลักษณ์ 5 อย่าง คือ
 ราชธวัช (ธง) พระกลด (ร่ม) ปีกนก 4 ขน มือสองข้าง และซีกวงเดือนหรือพระจันทร์เสี้ยว ภายในวงเดือนซึ่งหงายขึ้นนั้น มีข้อความภาษาอาหรับจารึกไว้ ซึ่งแปลความได้ว่า "น้อมรับใช้ตามแนวทางของพระอัลเลาะห์เสมอ" ("Always in service with God's guidance") เบื้องล่างสุดมีแพรแถบจารึกชื่อประเทศไว้ว่า บรูไนดารุสซาลาม (มาเลย์: بروناي دار السلام) แปลว่า
นครแห่งสันติ ราชธวัช (Bendera) และพระกลด (Payang Ubor-Ubor) หมายถึง สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนดารุสซาลาม (ของทั้งสองสิ่งนี้ นับเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามคติบรูไน)
ปีกนก 4 ขน (Sayap) หมายถึง การพิทักษ์ความยุติธรรม ความสงบ ความเจริญ และสันติสุขของชาติ มือสองข้างที่ชูขึ้น (Tangan หรือ Kimhap) หมายถึง หน้าที่ของรัฐบาลที่จะยกระดับความมั่งคั่ง สันติสุข และความวัฒนาถาวรให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ซีกวงเดือนหงาย (Bulan) หมายถึง ศาสนาอิสลาม อันเป็นศาสนาประจำชาติ
    

  
สัญลักษณ์ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
ความหมาย มีชื่อว่า "ตราพญาครุฑปัญจศีล" ลักษณะเป็นรูปพญาครุฑ มีขนปีกข้างละ 17 ขน ,หาง 8 ขน, โคนหาง 19 ขน และคอ 45 ขน หมายถึง วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945
ซึ่งเป็นวันประกาศเอกราช กลางตัวพญาครุฑนั้นมีรูปโล่ ภายในโล่แบ่งเป็นสี่ส่วน และมีโล่ขนาดเล็กช้อนทับอีกชั้นหนึ่ง ช่องซ้าย บนของโล่บรรจุรูปหัวควายป่า (ในภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า "บานเต็ง") ถือเป็นสัญลักษณ์ของประชาชน ช่องขวาบนบรรจุรูปต้นไทร หมายถึง ลัทธิชาตินิยม ช่องซ้ายล่าง บรรจุรูปดอกฝ้ายและช่อรวงข้าว ได้แก่ความยุติธรรมในสังคม ช่องขวาล่าง
บรรจุสร้อยสีทองร้อยทรงสี่เหลี่ยมสลับทรงกลม คือ หลักการของมนุษยธรรมและ ความผูกพันในสังคมมนุษย์ทื่ไม่มีจุดสิ้นสุดพื้นโล่ของช่องซ้ายบนขวาล่างนั้นมีสีแดง ส่วนกลางนั้นมีสีดำ
ที่มีโล่ขนาดเล็กสีขาวบรรจุรูปดาวสีทอง หมายถึง ความเชื่อในพระเจ้า เบื้องล่างของตราที่เท้าของพญาครุฑนั้นจับแพรแถบสีขาว บรรจุคำขวัญประจำชาติ
ซึ่งเขียนเป็นภาษาอินโดนีเซียอย่างเก่าความว่า "Bhinneka Tunggal lka" แปลได้ว่า "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย" เหตุที่เรียกชื่อตราพญาครุฑปัญจศีล เพราะในโล่กลางตรานี้ได้บรรจุสัญลักษณ์ของหลักการทางการเมือง 5 ข้อของอินโดนีเซีย (ปัญจศีล - ชื่อพ้องกับหลักปัญจศีลของพระพุทธศาสนา)
ตรานี้ออกแบบโดยสุลต่านฮามิดที่ 2 แห่งปอนติอานัก (Sultan Hamid II of Pontianak) และได้ประกาศใช้เป็นตราแผ่นดินของอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493

  

  
สัญลักษณ์ตราแผ่นดินของ มาเลเซีย (Malaysia)
ความหมาย ประกอบด้วยส่วนหลักๆห้าส่วนคือ โล่ เสือโคร่งสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลือง และดาวสีเหลือง 14 แฉก และแถบผ้า ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมาลายาระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ตราในปัจจุบันจึงมีอิทธิพลของตราแบบตะวันตกอยู่มาก เครื่องยอดประกอบด้วยรูปจันทร์เสี้ยวและดาว14แฉกซึ่งเรียกว่า"ดาราสหพันธ์"("Bintang Persekutuan") ทั้งสองรูปนี้เป็นสีเหลือง หมายถึงยังดี เปอร์ตวน อากง กษัตริย์ผู้เป็นองค์อธิปัตย์ของสหพันธรัฐ นอกจากนี้รูปจันทร์เสี้ยวยังหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ ส่วนดาราสหพันธ์หมายถึงรัฐทั้ง 13 รัฐของสหพันธ์และดินแดนของรัฐบาลสหพันธรัฐ
เดิมรูปดาว 14 แฉกนั้นใช้เป็นสัญลักษณ์แทนรัฐที่รวมเป็นประเทศมาเลเซียเมื่อแรกก่อตั้ง 14 รัฐ ซึ่งมีสิงคโปร์รวมอยู่ด้วย
ต่อมาเมื่อสิงคโปร์แยกตัวจากสหพันธรัฐ รูปดาว 14 แฉกนี้ก็มิได้มีการแก้ไข แต่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าดาวดังกล่าวได้รวมความหมายถึงดินแดนของสหพันธรัฐที่มีอยู่แทน รูปโล่ในตราอาร์มนี้เป็นสัญลักษณ์แทนการรวมเป็นเอกภาพของรัฐต่างๆ ภายใต้สหพันธรัฐของชาวมาเลย์ ภายในโล่แบ่งพื้นที่อย่างคร่าวๆ ออกเป็น 3 ส่วน ตามแนวนอนสิบส่วนดังนี้ส่วนบนสุดหรือส่วนหัวของโล่ บรรจุภาพกริช 5 เล่มบนพื้นสีแดง หมายถึง อดีตรัฐมลายูที่อยู่นอกสหพันธรัฐมาลายา 5 รัฐ ได้แก่ รัฐยะโฮร์ รัฐตรังกานู รัฐกลันตัน รัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) และรัฐปะลิส ส่วนกลางโล่ ทางซ้ายสุด เป็นรูปต้นปาล์มปีนังอยู่เหนือแพรประดับสีฟ้า-ขาว หมายถึง รัฐปีนัง ถัดมาตรงกลางเป็นแถวช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า 4 แถวประกอบด้วยสีของธงชาติ สหพันธรัฐมาลายา ได้แก่ สีแดง
สีดำ สีขาว และสีเหลือง เรียงจากซ้ายไปขวา สีเหล่านี้เป็นสีที่ใช้ประกอบในธงประจำรัฐสมาชิกในสหพันธรัฐมาลายา ได้แก่ รัฐเนกรีเซมบิลัน (แดง-ดำ-เหลือง). รัฐปาหัง
(ดำ-ขาว), รัฐเประ (ขาว-เหลือง) และรัฐสลังงอร์ (แดง-เหลือง) ทางขวาสุด เป็นรูปต้นมะขามป้อม (Indian gooseberry) อันเป็นสัญลักษณ์ของรัฐมะละกา ส่วนล่างหรือท้องโล่ แบ่งออกเป็นสามช่อง ทางซ้ายสุด เป็นรูปตราอาร์มประจำรัฐซาบาห์ (ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2506) ตรงกลางเป็นรูปดอกชบาซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติ ทางขวาสุด เป็นรูปตราอาร์มประจำรัฐซาราวัก รูปเสือโคร่งท่ายืนผงาดที่ประคองสองข้างของตราเป็นสัญลักษณ์ตามธรรมเนียมเดิมของชาวมลายู หมายถึง กำลังและความกล้า รูปดังกล่าวนี้มีที่มาจากตราเดิมของรัฐแห่งสหพันธ์มาลายา (Federated Malay States) และสหพันธรัฐมาลายา (Federation of Malaya) คำขวัญประจำดวงตราอยู่ในตำแหน่งล่างสุดของโล่ ประกอบด้วยแพรแถบและข้อความ "Bersekutu Bertambah Mutu"
อันมีความหมายว่า "ความเป็นเอกภาพคือพลัง" ข้อความนี้เป็นภาษามลายู เขียนด้วยอักษรโรมันและอักษรยาวี ข้อความที่เป็นอักษรโรมันนี้ได้ถูกนำมาแทนที่ข้อความเดิมซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ("Unity is Strength") ภายหลังจากการประกาศเอกราชระยะหนึ่ง

  
  
สัญลักษณ์ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
ความหมาย เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2502 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502 พร้อมกันกับธงชาติ และเพลงชาติสิงคโปร์ ณ ห้องสาบานตนประธานาธิบดีแห่งสิงค์โปร์ ที่ศาลาว่าการของเมืองสิงคโปร์ซิตี้ ลักษณะของตราแผ่นดิน เป็นรูปสิงโตและเสือถือโล่สีแดง ซึ่งมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 5 ดวง และพระจันทร์เสี้ยวสีขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ สำคัญที่ใช้บนธงชาติของสิงคโปร์ เสือเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความผูกพันทางประวัติศาสตร์กับประเทศมาเลเชีย และสิงโตเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงสิงคโปร์ ด้านล่างของตราแผ่นดินเป็นริบบิ้นสีน้ำเงินจารึกคำขวัญประจำชาติด้วยตัวหนังสือที่ทองว่า "Majulah singapura:" ซึ่งมีความหมายว่า "สิงคโปร์จงเจริญ
  
   
สัญลักษณ์ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ความหมาย มีลักษณะเป็นพระอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกซึ่งแสดงถึงจังหวัดทั้งแปด (บาตันกัส บูลาจัน กาวิเต มะนิลา ลากูนา นูเอวา เอจิยา ปัมปางาและตาร์ลัก)
ซึ่งอยู่ภายใต้กฏอัยการศึกระหว่างการปฏิวัติฟิลิปปินส์และดาวห้าแฉกสามดวงแสดงถึงเขตทางภูมิศาสตร์หลักสามแห่ง คือ ลูซอน วิซายา   และ มินดาเนา
พื้นสีน้ำเงินทางด้านซ้ายมีนกอินทรีของสหรัฐอเมริกา
และพื้นสีแดงทางด้านขวามีสิงโตของสเปน ซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์ในการเป็นอาณานิคม การออกแบบนี้คล้ายกับการออกแบบโดยเครือรัฐแห่งฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2483
คำที่อยู่ในผ้าแถบมีการเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราช จากการได้รับเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2489 – 2515 จนถึงเฟอร์ดินาน มาร์กอสประกาศกฎอัยการศึก
ผ้าแถบมีคำว่า "REPUBLIC OF THE PHILIPPINES." จาก พ.ศ. 2522 จนถึงการสิ้นสุดอำนาจของมาร์กอสเมื่อ พ.ศ. 2529 ในผ้าแถบมีคำว่า "ISANG BANSA ISANG DIWA"
(หนึ่งชาติ หนึ่งสปิริต) เมื่อมาร์กอสสิ้นสุดอำนาจลง ในผ้าแถบเปลี่ยนไปใช้คำว่า "REPUBLIKA NG PILIPINAS" ใน พ.ศ. 2541รูปนกอินทรีและสิงโตถูกตัดออกไป แต่ตราที่ถูกดัดแปลงนี้ไม่ได้ใช้อย่างแพร่หลาย
    

  
สัญลักษณ์ตราแผ่นดินของประเทศไทย
ความหมาย คือตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ เทพพาหนะของพระนารายณ์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติ
และเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ตามแนวคิดสมมุติเทพ โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดั้งแต่หลัง พ.ศ. 2436 เป็นต้นมา
แต่มาใช้อย่างเต็มที่แทนตราแผ่นดินเดิมทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2453